การทำอาชีพอิสระ อาชีพส่วนตัว นอกจากการได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว บางอาชีพก็มีโอกาสรวยเร็ว แต่ความอยากรวยเร็วนั้น หากเป็นไปเพราะ ความโลภ ไม่ใช่จังหวะ โอกาส หรือความสามารถแล้ว ก็ต้องระวังถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา อาจทำให้ธุรกิจพัง ไม่มีลูกค้า กิจการไปไม่รอด อย่างการตั้งราคาสินค้าแสนแพง อาจจะเพราะความชอบส่วนตัวต้องขายแพงๆ อยากได้กำไรมากๆ หรืออาจมีเหตุให้ต้องขายสินค้าในราคาสูงก็ ตาม
การทำอาชีพส่วนตัว อาชีพอิสระ การหวังกำไรมากๆ เป็นสิ่งที่บางคนต้องการแบบนั้น อยากจะรวยเร็ว อยากจะได้เงินมากๆ บางคนที่มีนิสัย โลภมากอยู่แล้ว เมื่อทำธูุรกิจใดๆ ก็ตาม ก็มักจะตั้งราคาแพงๆ ไว้ก่อน ผลเสียที่ตามมา อาจจะไม่ทำให้รวย หรือได้เงินมากอย่างที่คิด แต่กลับ กลายเป็นการไล่ลูกค้าทางอ้อม หรือธุรกิจพังไปเลยก็มี
กรณีศึกษาที่เราอาจจะพบได้กับคนรอบตัว
ผู้เขียนเป็นคนช่างสังเกตุ และมีเพื่อนบางคนที่เน้นขายสินค้าแพงๆ เท่านั้น ต้องแพง ต้องกำไรมากๆ การทำอะไรแล้วได้กำไรน้อยๆ จะไม่ทำ เพราะมองว่าเสียเวลา และพรรคพวกบางคนที่คิดแบบนี้ ก็ไปไม่รอด หรือกิจการไปได้ไม่ดีนัก มีปัญหาการเงินมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่ลดนิสัย โลภมาก ยอมอด แต่ไม่ยอมลดราคา ต้องแพงเท่านั้น
กรณีศึกษาที่ 1 ร้านขายของชำ มินิมาร์ท
เรื่องนี้ก็เป็นประสบการณ์ตรงในฐานะลูกค้าที่ไปใช้บริการร้านค้าเหล่านี้ บางร้านเน้นขายแพงกว่าร้านอื่น ร้านห่างกันไม่ถึง 100 เมตร แต่ ราคาห่างกัน 1 - 5 บาท เลยทีเดียว ร้านที่เน้นขายของแพง ก็จะได้แต่ลูกค้าขาจร ลูกค้าในพื้นที่ไม่มีใครอุดหนุน เพราะขายแพงกว่ารายอื่น ซื้อ ครั้งเดียวก็ไม่เข้าร้านอีกแล้ว การบอกต่อเป็นเรื่องที่เร็วมาก ดังนั้นจึงยากจะทำกำไร เมื่อเปรียบเทียบกับบางร้านขายถูกกว่า มีลูกค้ามาก แม้จะ ได้กำไรน้อย แต่ก็ขายได้ปริมาณมาก มีทั้งลูกค้าในพื้นที่และลูกค้าขาจร แต่ลูกค้าในพื้นที่มีมากกว่า และเป็นลูกค้าประจำ
กรณีศึกษาที่ 2 การให้บริการเช่าบ้าน สถานที่
บางคนเปิดให้บริการเช่าบ้านแบบรายวัน โดยคิดค่าเช่าแพงมาก จนโดนลูกค้าต่อว่าต่อหน้าตรงๆ เพราะแพงเกินไป และผลสุดท้ายก็ไม่มีคน มาใช้บริการเลย ซึ่งบางคนนั้น มีเงินใช้อยู่แล้ว ไม่เดือดร้อน จึงทำธุรกิจแบบไม่ง้อลูกค้า ใครอยากจะเช่า ก็มา ไม่อยากเช่าก็ไม่สนใจ เพราะ บ้านก็ไม่ต้องผ่อนไม่เดือดร้อน แต่ก็ลืมไปว่า ตัวเองก็ได้ลงทุน ลงเงินปรับแต่งบ้านไแล้ว หากไม่มีลูกค้าเลย ก็จะเสียเงินเปล่า
บางคนก็บ้าแต่งบ้านมาก หมดเงินไปหลักแสน ก็ตั้งราคาสูงๆ หวังจะคิดค่าบริการแพงๆ แต่ก็ไม่ได้อย่างที่คิด ตั้งราคาไว้สูงเกินไป ก็ไล่ลูกค้า ไปที่อื่น เพราะตัวเลือกมีมาก ลูกค้ามีสิทธิ์เลือก
กรณีที่ 3 ขายอาหาร
บางคนขายอาหาร เปิดร้านอาหาร ก็ขายแพงเช่นกัน ทั้งๆ ที่ต้นทุนก็ไม่ได้เพิ่มมากนัก อย่างบางครั้งราคาน้ำมันพืชปรับตัวสูงขึ้น หรือมี สินค้าบางอย่างปรับตัวสูงขึ้น ก็จะรีบขึ้นราคาทันที ขึ้นแล้วก็ไม่ลง การตั้งราคาค่าอาหารแพงนั้น ก็ต้องพิจารณาตามความเป็นจริง รายจ่าย หรือ ต้นทุนมากขนาดนั้นหรือไม่ บางคนก็ตั้งราคา ตามๆ กัน ร้านนั้น 40 50 บาท ก็ตั้งราคาไว้เท่ากัน โดยไม่ดูว่า ต้นทุนจริงๆ ก็ไม่ได้มากนัก แต่ตัว เองอาจจะไปสร้างหนี้สิน หรือมีพฤติกรรมใช้เงินเก่ง บางคนเพิ่งจะเปิดร้านได้ไม่นาน พอจะมีรายได้ ก็รีบไปถอยรถใหม่ป้ายแดง เมื่อต้องใช้เงิน มาก จึงต้องมารีดเงินเอาจากลูกค้าด้วยการขายของแพงๆ
กรณีที่ 4 ขายที่ดิน
การขายบ้าน ขายที่ดิน มักจะทำกำไรอย่างงาม หลักแสนหลักล้านบาท บางคนต้องขายแพงๆ เท่านั้น ไม่ได้ราคาอย่างที่ต้องการก็ไม่เอา บางครั้งก็มีโอกาสเสี่ยงต้องสูญเงินจำนววนมาก หากมีปัญหาร้อนเงิน เพราะที่ดิน และ บ้าน ไม่ใช่ว่าจะสามารถขายได้ง่ายๆ เหมือนขายข้าวแกง ถ้ามีปัญหาการเงินเมื่อไร บ้าน หรือ ที่ดิน ที่ซื้อไว้เก็งกำไร อาจจะขาดทุน
บางคนตั้งใจจะขายแพงๆ ตัวเองติดหนี้ 5 ล้านกว่าบาท เอาที่ดินนั้นไปจำนอง มีคนมาขอซื้อ 7 ล้านไม่ขาย จะเอา 10 ล้าน คนซื้อไม่สู้ราคา สุดท้ายต้องปล่อยไปในราคา 5 ล้านกว่าบาท ไม่ได้เงินเลยสักบาท เพราะครบกำหนด โดนยึด โดยเจ้าหนี้ โลภมากนัก มักลาภหาย เป็นอย่างนี้ นี่เอง
กรณีที่ 5 ขายสินค้างานฝีมือ
การผลิตงานฝีมือ บางคนจะคิดว่า งานของตนนั้น เป็นงานที่มีหนึ่งเดียว จึงต้องราคาเอาตามใจชอบ หากเป็นสินค้าที่ต้นทุนต่ำ เพราะงาน นั้นทำขึ้นมาเองแทบจะทั้งหมด และเป็นสินค้าที่ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เสียไปตามกาลเวลา ก็คงจะไม่ใช้เรื่องใหญ่ แต่หากเป็นการซื้อสินค้าคนอื่นมา ใช้เป็นวัตถุดิบอีกที ก็ต้องคิดให้รอบด้าน อย่างการเพนท์รองเท้า ซึ่งผลิตเองไม่ได้ ต้องซื้อรองเท้าจากคนอื่น ผลงานที่ได้ หากตั้งราคาไว้สูงมาก ก็จะขายไม่ได้ อย่างรองเท้าราคา 100 กว่าบาท หลังจากเพนท์ให้สวยงามแล้ว ขายที่ 300 กว่าบาทขึ้นไป การขายอาจจะไม่ง่ายนัก เพราะคน ซื้อจะรู้ว่า สินค้าตัวนั้น ราคาเท่าไร และรองเท้าเก็บไว้นาน หากไม่ค่อยได้ใช้ กาวจะเริ่มแย่ ทำให้พื้นหลุดได้
การขายสินค้าประเภทงานฝีมือจึงต้องดูว่า สินค้านั้น เราสามารถผลิตเองได้เกือบทั้งหมดหรือไม่ ควบคุมต้นทุนได้มากน้อยเพียงใด และ หากขายไม่ได้ เก็บไว้นานๆ จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ หากผิดไปจากนี้ การตั้งราคาแพงๆ แล้วขายไม่ได้ ก็มีแต่เสียกับเสีย เสียเงิน เสียเวลา
อยากขายสินค้าแพง ควรขายอย่างไร
สำหรับท่านใดที่อยากจะขายสินค้าในราคาแพง อาจจะใช้แนวทางต่อไปนี้ ผสมผสานกันไป
1. ผลิตสินค้าบางชิ้น งานฝีมือ งานพิเศษ เลียนแบบยาก เก็บไว้ได้นาน และตั้งราคาแพง นานๆ ขายได้สักทีก็ไม่มีปัญหา กรณีเป็นร้านอาหาร อาจจะมีบางเมนูที่แพงกว่าเมนูอืน เป็นต้น
2. ผลิตสินค้าราคาถูกไว้รองรับลูกค้าส่วนใหญ่ อย่างกรณีทำร้านอาหาร ก็อาจจะมีเมนูราคาถูก ไม่แพง ไว้รองรับลูกค้าทั่วไป อย่างร้านเสริมสวย บริการบางอย่างคิดแพง หลักพันบาท แต่ก็จะมีบริการเล็กๆ น้อยๆ อย่าง สระ - รีด - ไดร์ ในราคาถูก บางร้านมีบริการสระผมในราคาถูกมาก 30-40 บาท สำหรับผู้หญิงที่ผมยาว ต้องการการดูแล บางทีไม่อยากจะสระเอง ก็จะมาใช้บริการบ่อยๆ เพราะไม่แพง
ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องขายแพง
การขายสินค้า หรือบริการในราคาแพง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่จะต้องหาทางลด ละ เลิก หากการขายแพง ทำให้ตัวเองเดือดร้อน
1. ลดความโลภ ลดความอยากได้ลง แล้วให้ลูกค้าด้วยใจ เดี๋ยวลูกค้าจะมาเอง บางคนเปิดร้านอาหารตามสั่ง ในราคาไม่แพง และให้ลูกค้าเยอะ มาก จึงมีลูกค้าเข้าออกมาก จนต้องปิดร้าน เพราะทำไม่ไหว อายุก็มากแล้ว แต่บางคนขายแพงมาก ใครซื้อก็บ่น และซื้อครั้งเดียวเท่านั้น 2. อย่าสร้างหนี้สิน อย่าสร้างนิสัยใช้เงินเก่ง เมื่อมีความต้องการใช้เงินมากๆ ก็ทำให้ต้องขึ้นราคาสินค้าของตนเอง ให้แพงขึ้น เพื่อให้มีกำไรมาก ขึ้น
3. ศึกษาการตลาด เน้นสินค้าบางอย่างแพง บางอย่างถูก ไม่ใช่จะทำอะไรก็ขายแพงไปเสียทั้งหมด ให้มีสินค้าแพง และ ถูก ผสมกันไป ของถูก ขายได้ทุกวัน มีรายได้ทุกวัน ของแพงนานๆ ขายได้สักที แต่ได้เงินก้อนใหญ่
4. รีบหาทางลดหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนชีวิตให้ต่ำที่สุด เช่น มีบ้าน ร้านค้าของตนเอง รุถยนต์ หรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ต้องผ่อน เมื่อต้นทุนชีวิตต่ำมาก ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องขายแพง เพื่อหวังเงินมากจากกำไร ร้านค้า หรือ กิจการก็จะไปได้ ตัวเองก็มีความสุขกับงานที่ทำ ลูกค้าก็มีความสุข
5. ลดความคิดที่ว่า ไม่คุ้มกับเวลาที่จะต้องเสียไป เวลาและแรงกายของเรานั้น เป็นของฟรี พักให้หายเหนื่อย เรี่ยวแรงก็กลับคืนมาแล้ว บางคิด ค่าเสียเวลาของตนเองแพงมากเกินไป จนทำให้ไม่มีรายได้ สินค้าขายไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระวัง เพราะลูกค้าในทุกวันนี้มีตัวเลือกมากขึ้น และสินค้าบางอย่าง ก็มาจากแหล่งผลิตเดียวกัน ลูกค้ารู้ว่า ต้นทุนจริงมากน้อยเพียงใด หากตั้งราคาสูงมาก ก็ระวังจะเจ็บตัว
6. ลดความคิดที่ว่า ตนเองนั้นมีฝีมือ จึงต้องคิดราคาแพงๆ ไว้ก่อน แต่หากคิดอีกมุมหนึ่ง ไม่ต้องตั้งราคาสูงมากนัก สร้างฐานลูกค้าประจำไว้ก่อน รายได้ก็จะเข้ามาเรื่อยๆ แต่ต้องคิดหาวิธีลดภาระในการทำงาน ลดเวลาในการทำงาน ให้น้อยลง กำไรก็จะมากขึ้น และคู่แข่ง ก็ยากจะสู้ เพราะ ลดราคาลงมาแข่งขันด้วยไม่ได้
สินค้าและบริการในทุกวันนี้ มีตัวเลือกมาก ดังนั้นก่อนจะตั้งราคาสินค้าหรือบริการในราคาแสนแพง ก็ต้องดูให้รอบด้าน ไม่เช่นนั้น ก็จะ สร้างปัญหาในเรื่องรายได้อย่างแน่นอน บางคนยอมขายแพง ทั้งๆ ที่ลูกค้าก็น้อย อยู่แล้ว ยิ่งขายแพง ลูกค้าก็ยิ่งหนีไปหมด